ทองประภาค้าเหล็ก จำกัด จำหน่ายเหล็กรูปพรรณและวัสดุก่อสร้าง ท่อดำ สแตนเลส และโลหะทุกชนิด

 

สินค้า

เหล็กเพลาขาวใน STEEL-ROUND BARS
เหล็กเพลาขาวนอก IMPORT STEEL-ROUND BARS
เหล็กตัวซี STEEL LIGHT LIP CHANNEL
เหล็กฉาก STEEL ANGLE BARS
เหล็กรางน้ำ ANGLES-CHANNELS
เหล็กแบน STEEL FLAT BARS
เหล็กไอบีม I-BEAMS
เหล็กไวด์แฟรงค์ WIDEFLANGE BEAMS
เหล็กเอชบีม H-BEAMS
ท่อดำ แป๊ปกลม CARBON STEEL PIPES
ท่อ API APIPIPES
เหล็กแผ่น STEEL SHEET & PLATE
เหล็กกล่อง STEEL SQUARE PIPES
แป๊ปแบน STEEL RECTANGULAR PIPES
เหล็กข้ออ้อย ,เหล็กเส้น
เหล็กกันสึก DIN ST-52 (เหล็กสำหรับทำโม่ปูน)
เหล็ก ASTM A572 Gr 50 (เหล็กกันสึก)
เหล็ก ASTM
เหล็กแข็งใบมีด JIS SCM440
เหล็กสปริง SK5
ท่อไม่มีตะเข็บ ขนาดต่างๆ ของ Sumitomo Kokura Japan / ท่อไฮโดรลิค ขนาดเล็กที่ไม่มีในตลาด
สแตนเลส size ต่างๆ ของ NIPON YAKIN KOGYO JAPAN
เหล็ก ASTM A36 , เหล็ก ASTM A283 GR C , เหล็ก ASTM A285 GR C , เหล็ก ASTM A537 CL 1, 2 เกรดประเทศสหรัฐอเมริกา
เหล็ก DIN ST37-2 , DIN ST35-8 แป๊ป Boiler , DIN ST60 เกรดประเทศเยอรมัน
เหล็ก DIN ST35
บริการ รีดขึ้นรูปเหล็ก
เหล็กรางรถไฟ (rail way steel)
เหล็กพับกระพ้อ
เหล็ก ASTM A242 CORTEN A,B เกรดประเทศสหรัฐอมริกา
ท่อไฮโดรลิก , ท่อ chromoly ขนาดเล็กที่หายากในตลาด

สิ่งเจือปนในเหล็ก

โดย .. ศูนย์เครือข่ายบริการทดสอบ วิเคราะห์ วิจัยด้านอุตสาหกรรม (Technical Service Network Center) : TSNC


      สิ่งเจือปนในเหล็กถือเป็นพารามิเตอร์สำคัญตัวหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เหล็กจะมีความสามารถในการขึ้นรูป (formability) ความเหนียว (ductility) และความล้า (fatigue strength) แย่ลง เมื่อผลิตภัณฑ์เหล็กมีปริมาณสิ่งเจือปนในรูปของสารประกอบซัลไฟด์และสารประกอบออกไซด์มากขึ้น อย่างไรก็ตามสารประกอบ MnS ในเหล็กจะช่วยให้เหล็กมีความสามารถในการกลึง ไส กัด เจาะ (machinabiliyty) ได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ การประเมินสิ่งเจือปนในเหล็กจะขึ้นอยู่กับประเภทผลิตภัณฑ์ และการตกลงกับคู่ค้าเป็นสำคัญ

     นอกจากปริมาณ (volume fraction) ของสิ่งเจือปนแล้ว ขนาด (size)รูปร่าง (morphology)และการกระจายตัว (distribution) ในเหล็กยังส่งผลต่อความเหนียว ความแกร่ง ความต้านทานต่อการล้า รวมถึงความสามารถในการขึ้นรูปอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมการขึ้นรูปโลหะ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจประเมินและควบคุมสิ่งเจือปนในเหล็ก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ
สิ่งเจือปนในเหล็ก แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 
 


  • Indigenous inclusions
  • Exogenous inclusions

      Indigenous inclusions เป็นสิ่งเจือปนที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุที่อยู่ในน้ำเหล็กกลายเป็นสารประกอบต่างๆ ระหว่างการเย็นตัว แบ่งเป็น 4 ประเภทตามมาตรฐาน ASTM E-7 ได้แก่

  • Type A สารประกอบซัลไฟด์ เช่น FeS หรือ MnS
  • Type B สารประกอบออกไซด์ของอลูมิเนียม Al2O3 (alumina)
  • Type C สารประกอบซิลิเคต (Silica)
  • Type D สารประกอบออกไซด์รูปร่างกลม (globular oxide)

      รูปที่ 1 แสดงสิ่งเจือปน Type A

 รูปที่ 2 แสดงสิ่งเจือปน Type B

 



รูปที่ 3 แสดงสิ่งเจือปน Type C




รูปที่ 4 แสดงสิ่งเจือปน Type D

     Exogenous inclusions เป็นสิ่งเจือปนในเหล็กที่มาจากแหล่งภายนอก เช่น สารประกอบออกไซด์จากแสลก หรือจากผนังเตาที่หลุดเข้ามาในน้ำเหล็กขณะทำการผลิต เป็นต้น 



รูปที่ 5 แสดง exogenous inclusions

วิธีการตรวจประเมินสิ่งเจือปนในเหล็กแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลักๆ ได้แก่

   1) วิธีการทดสอบทางตรง (direct method) ตามมาตรฐาน ASTM E45 ได้แก่


  • Macroscopical method ได้แก่ macroetch test, fracture test, step-down method รวมถึง magnetic particle method
  • Microscopical method ได้แก่ method A (worst fields), method B (length), method C (oxides & silicates), method D (low inclusion content) และ method E (SAM rating)

  2) วิธีการทดสอบทางอ้อม (indirect method) ได้แก่

  • Total oxygen measurement
  • Nitrogen pickup

 
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างวิธีการตรวจประเมินสิ่งเจือปนในเหล็ก 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่

  1. Step-down method

วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจหาสิ่งเจือปนที่อยู่ที่ผิวหลังการกลึงของชิ้นงานรีดหรือทุบขึ้นรูป ชิ้นงานทดสอบจะถูกกลึงให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่กำหนด และจะทำการตรวจหาสิ่งเจือปนภายใต้สภาวะความส่องสว่างที่เหมาะสมโดยใช้สายตา หรือแว่นกำลังขยายต่ำ ในบางกรณีอาจจะตรวจหาสิ่งเจือปนบนที่ผิวชิ้นงานทดสอบที่หลายตำแหน่ง โดยทำการกลึงชิ้นงานให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่างๆกัน วิธีการนี้จะเหมาะกับการตรวจหาสิ่งเจือปนที่มีขนาด 3 มิลลิเมตรขึ้นไป
     2.  Method A (worst field)
วิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจประเมินสิ่งเจือปนในเหล็กระดับจุลภาคตามมาตรฐาน ASTM E45 โดยจะแสดงผลเป็นระดับความรุนแรงที่มากที่สุดของสิ่งเจือปนแต่ละประเภท ทำได้โดย

  • เตรียมผิวชิ้นงานให้เป็นมันวาว (polished surface) และมีพื้นที่ผิวไม่น้อยกว่า 160 ตารางมิลลิเมตร
  • ตรวจประเมินสิ่งเจือปน โดยในการตรวจประเมินนั้น พื้นที่สำหรับตรวจประเมิน (field size) จะเท่ากับ 0.5 ตารางมิลลิเมตร โดยทั่วไปจะใช้เลนส์ตาที่มี glass scale ขนาด 0.71 x 0.71 มิลลิเมตร ช่วยในการประเมิน
  • ประเมินระดับความรุนแรงของสิ่งเจือปนในแต่ละ field แบ่งตามประเภท และขนาด (หนา และ บาง) โดยเทียบกับ Plate I-r (แผนภาพมาตรฐานแสดงระดับความรุนแรงของสิ่งเจือปนตามประเภทและขนาด)
  • บันทึกระดับความรุนแรงของสิ่งเจือปนที่มากที่สุดของแต่ละประเภทและขนาดของสิ่งเจือปน





รูปที่ 6 แสดง glass scale ขนาด 0.71 x 0.71 มิลลิเมตร สำหรับช่วยในการประเมินระดับ
ความรุนแรงของสิ่งเจือปน (ASTM E 45 – 97)

3.Total oxygen measurement
วิธีนี้เป็นวิธีการประเมินสิ่งเจือปนทางอ้อม โดยจะตรวจวัดสัดส่วนของออกซิเจนในเหล็ก สัดส่วนของออกซิเจนในเหล็กนี้ จะเป็นตัวบ่งบอกถึงปริมาณสารประกอบออกไซด์ที่มีอยู่ในเหล็กได้ เนื่องจากออกซิเจนที่มีอยู่ในเหล็กส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบออกไซด์ (ประมาณ 3 – 5 ppm ของออกซิเจนในเหล็กที่อยู่ในรูปของออกซิเจนอิสระ) การหาสัดส่วนออกซิเจนในเหล็กสามารถทำได้โดยใช้เครื่อง oxygen/nitrogen analyzerซึ่งค่าที่ได้จะเป็นผลรวมของสัดส่วนทั้งออกซิเจนอิสระและออกซิเจนในรูปของสารประกอบออกไซด์)
นอกจากวิธีการเหล่านี้แล้ว ยังมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการวิเคราะห์สิ่งเจือปน เช่น กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบรูปร่างสามมิติ (ชิ้นงานที่ผ่านการทำ slime extraction) รวมถึงวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีของสิ่งเจือปนได้ โดยใช้เทคนิค energy dispersive spectroscopy(EDS)



รูปที่ 7 แสดงภาพสมมิติของสิ่งเจือปนในเนื้อเหล็กที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แสง หลังจากการทำ partial slime extraction (85th Steelmaking Conference Proceedings, ISS-AIME, Warrendale, PA, 2002 pp. 431-452)





รูปที่ 8 แสดงสิ่งเจือปน (ภาพบน) และส่วนผสมทางเคมี (ภาพล่าง)



กลับไปด้านบน

 

 

 


 Copyright (c) 2011  Thongprapa Steel Co Ltd All rights reserved

12/4 หมู่ที่ 5 ถนน สุขสวัสดิ์ ซอย สุขสวัสดิ์43 ตำบล บางครุ อำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทราปราการ 10130 

Tel.   02-4634490-3 , Fax02-4634494-5

Email :   Tpp.steel@gmail.com

 
Online:  3
Visits:  1,081,270
Today:  110
PageView/Month:  5,212